สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย
โทรศัพท์ 02-385-7177
โทรสาร 02-385-8577

เกี่ยวข้องเรา
สื่อสังคมออนไลน์

แบนเนอร์
สไตล์
...
สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย
เกี่ยวกับ ECOT

เกี่ยวกับ สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย

สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย(ECOT) ได้รับการสนับสนุนจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้าย
ถิ่นฐาน(IOM) จัดฝึกอบรมให้แรงงานข้ามชาติ เพื่อขับเคลื่อนการว่าจ้างและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานข้ามชาติ
ภาคเอกชนให้นายจ้างปฏิบัติตามกฏหมายพระราชบัญญัติความ
ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มาตร 16 

กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการและดำเนินการในการทำงานได้อย่างปลอดภัยให้แก่ลูกจ้าง

ประวัติความเป็นมา

ประวัติสภาองค์การนายจ้างแห่งประทศไทย

            สืบเนื่องจากการที่หอการค้าไทย ซึ่งเป็นองค์กรรวมของผู้ประกอบการค้าในประเทศไทยกับสมาคมอุตสาหกรรมไทย ได้มีความเห็นร่วมกัน ว่าสมควรได้จัดให้มีสำนักงานทางวิชาการทางด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมขึ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันทั้งสอง ให้สามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของสถาบันทั้งสอง

                และต่อมาได้ประชุมร่วมกันอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2517 และได้มีมติร่วมกันให้ก่อตั้งสำนักงานวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมขึ้น โดยเป็นสำนักงานทางวิชาการที่จะให้บริการทั้งหอการค้าไทย และสมาคมอุตสาหกรรมไทย โดยมีคณะกรรมการบริหารมาจากทั้งสองสถาบัน ในขั้นแรกกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังต่อไปนี้

  1. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการสาขาต่างๆ
  2. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการภาคเอกชนและภาครัฐบาล
  3. เพื่อส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์
  4. เพื่อส่งเสริ มการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบการของภาคเอกชนและวิทยาการทางการจัดการ

                คณะกรรมการบริหารสำนักวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมหอการค้าไทยและสมาคมอุตสาหกรรมไทย ได้บริหารกิจารของสำนักงานวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมด้วยดีตลอดมา

                ในช่วงดังกล่าวปรากฎว่ามีปัญหาทางด้านแรงงานเป็นอันมาก ซึ่งสมาชิกของสำนักวิชาการธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่างประสบความยุ่งยากทางด้านแรงงานเพราะมีการยื่นข้อเรียกร้องและนัดหยุดงานบ่อยครั้งและมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการและกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

                ประกอบกับได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับแรงงานสัมพันธ์เอาไว้เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงาน โดยเฉพาะได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรของฝ่ายลูกจ้างและองค์การของฝ่ายยนายจ้าง คือสหภาพแรงงานและสหพันธ์แรงงานกับสมาคมนายจ้างและสหพันธ์นายจ้างขึ้นเพื่อใช้เป็นองค์กรหรือสถาบันที่เป็นกลไกในการเจรจาต่อรองร่วมกัน เพื่อหาข้อยุติข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งเชิญบรรเทาปัญหาการเผชิญหน้ากันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยใช้องค์กรของแต่ละฝ่ายมาเจรจาต่อรองกัน

                ดังนั้นในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิชาการธุรกิจและ อุตสาหกรรมคั้งที่ 1/2518 วันที่ 19 พฤษภาคม 2518 ที่ประชุมจึงมีมติให้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งสมาคมนายจ้างต่างๆขึ้นตามพระราชบัญญติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 โดยให้สำนักวิชาการธุรกิจ และอุตสาหกรรมทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการกลางของสมาคมนายจ้างต่างๆซึ่งที่ประชุมได้มีเหตุผลในการลงมติดังต่อไปนี้

  1. เพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งระบุให้มีการจัดตั้งสมาคมนายจ้างได้
  2. เพื่อให้การเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ทั้งนี้ เพราะการเจราจต่อรองกระทำโดยผ่านองค์กร

ของนายจ้างลูกจ้างได้กระทำในรูปขององค์กร โดยมีผู้แทนของแต่ละฝ่าย กล่าวคือ ผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้าง ซึ่งมาจากองค์กรของฝ่ายตนมาร่วมเจรจา

  1. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ทั้งนี้ เพราะการเจรจาต่อรองกระทำโดยผ่าน

องค์กรของนายจ้างและลูกจ้าง จะทำให้ลดการเผชิญหน้ากันโดยมีสหภาพแรงงานกับสมาคมนายจ้างส่งผู้แทนมาทำการเจรจาต่อรองกัน

 

 

  1. เพื่อให้การเจรจาต่อรองกันมีน้ำหนักและแก้ปัญหาแรงงานได้อย่างจริงจัง เพราะการเจราจาในรูปของ

สมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานจะมีน้ำหนักและได้รับความเชื่อถือมากกว่านายจ้างทำการเจรจาเป็นรายบุคคลด้วยตนเอง

            จากมติที่ประชุมดังกล่าว จึงได้เริ่มดำเนินการก่อตั้งสมาคมนายจ้างต่างๆขึ้น โดยสำนักวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมเป็นผู้ประสานงานในการดำเนินการก่อตั้งและจดทะเบียนตามกฎหมายโดยเริ่มต้นด้วยกัน             จดทะเบียนสมาคมนายจ้างเครื่องใช้ไฟฟ้า สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ สมาคมนายจ้าง-อุตสาหกรรมห้องเย็น สมาคมอุตสาหกรรมสิ่งท่อไทย สมาคมนายจ้างช่างเหมาไทย และได้มีสมาคมนายจ้างอื่นๆ ได้ดำเนินการก่อตั้งและจดทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนกลาง ซึ่งได้แก่สมาคมนายจ้างโรงแรมกรุงเทพฯ   สมาคมนายจ้างโรงแรมพัทยา สมาคมนายจ้างเจ้าของเรือขนส่งทางน้ำ สมาคมนายจ้างร้านตัดเสื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมนายจ้างเวชภัณฑ์ สมาคมนายจ้างต่างๆ ได้ดำเนินกิจการ ภายใต้ขอบเขตวัตถุประสงค์ของบทบัญัติของพระราชบัญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

                การก่อตั้งสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ปรากฎเป็นจริงขึ้นเมื่อสมาคมนายจ้างต่างๆ ที่ก่อตั้งขึ้นแล้วนั้นได้มาประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2519 เวลา 10.00 น. ณ ห้องหมิง โรงแรมอินทรา รีย่นต์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร ซึ่งที่ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดตั้ง สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยขึ้นและยังมอบหมายให้สำนักวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการของสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยต่อไป

            สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาในขณะนั้นมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเหมือนกับสมาคมนายจ้างหรือสหพันธ์นายจ้าง เพราะไม่มีกฎหมายใดๆรองรับหรือบังคับให้จดทะเบียน แต่เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้มิคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 46 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519  แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 กำหนดให้สภาองค์การนายจ้างต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้จดทะเบียน จึงได้จัดประชุมขึ้น เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2519 เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ที่ประชุมมีมติให้จดทะเบียนสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยโดยได้รับมอบหมายให้ ร.ต.ท.ชาญ มนูธรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียน และได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2520 ได้หมายเลขทะเบียนที่ ก.ธ.1

                ผู้เริ่มก่อการในการจดทะเบียน สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยผู้แทนสมาคมนายจ้างต่างๆที่เป็นสมาชิกสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยจำนวน 7 นาย ดังนี้

  1. นายอบ วสุรัตน์  ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างเวชภัณฑ์
  2. ร.ต.ท.ชาญ มนูธรรม  ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างเครื่องใช้ไฟฟ้า
  3. ร.ท.วันชัย บูลกุล  ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างโรงแรมพัทยา
  4. นายรังษี ชีวเวช  ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างเจ้าของเรื อขนส่งทางน้ำ
  5. นายแพทย์ชัยยุทธ กรรณสูต  ประธานกรรมการนายจ้างช่างเหมาไทย
  6. นายสุจินต์ เบญจรงคกุล  ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างโรงแรมกรุงเทพฯ           

                สมาชิกสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยประกอบด้วยสมาคมนายจ้างต่างๆที่ได้ก่อตั้งขึ้นจำนวน 10 แห่ง และสหพันธ์นายจ้างจำนวน 1 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีสถานประกอบกิจการต่างๆ  ที่ยังมิได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมนายจ้างขึ้นเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบผู้ให้การสนับสนุนด้วย โดยโอนมาจากสำนักวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมเดิมจำนวน 108 สถานประกอบกิจการสมาคมนายจ้างและสหพันธ์นายจ้างที่เป็นสมาชิกมาตั้งแต่เริ่มแรกมีดังต่อ ไปนี้

  1. สมาคมนายจ้างเครื่องใช้ไฟฟ้า
  2. สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ
  3. สมาคมนายจ้างเวชภัณฑ์
  4. สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย
  5. สมาคมนายจ้างช่างเหมาไทย
  6. สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมห้องเย็น
  7. สมาคมนายจ้างร้าตัดเสื้อแห่งประเทศไทย
  8. สมาคมนายจ้างโรงแรมกรุงเทพฯ
  9. สมาคมนายจ้างโรงแรมพัทยา
  10. สมาคมนายจ้างเจ้าของเรือขนส่งทางน้ำประเทศไทย
  11. สหพันธ์นายจ้างโรงแรมแห่งประเทศไทย

 

เจ้าหน้าที่ประจำผู้ปฏิบัติงานของสำนักเขลาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประทศไทยในขณะนั้นได้แก่ เจ้าหน้าที่ของสำนักวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรม บุคคลที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินการก่อตั้งสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานและประสานงานกับบุคคลต่างๆตั้งแต่สมาชิก คณะกรรมการ ส่วนราชการต่างๆ ตลอดจนองค์กรและบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจนกระทั่งการก่อตั้งสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย เป็นผลสำเร็จขึ้นมาได้ก็คือ นายสุพันธ์ มุ่งวิชา  ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมในขณะนั้น 

                คณะกรรมการชุดแรกของสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ได้ปฏิบัติภาระหน้าที่ต่อเนื่องมาด้วยดีและได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการตามวาระการดำรงตำแหน่ง ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง มีคณะกรรมการเข้าดำรงตำแหน่ง จำนวน 11 ชุด โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ดังต่อไปนี้

  1. นายอบ วสุรัตน์                      2520-2522
  2. ร.ต.ทงชาญ มนูธรรม             2522-2524
  3. นายบรรเจิด ชลวิจารณ์          2524-2526
  4. นายบรรเจิด ชลวิจารณ์          2526-2528
  5. นายอุดม วิทยะสิรินันท์         2528-2530 
  6. นายอุดม วิทยะสิรินันท์         2530-2532
  7. นายจิรายุทธ์ วสุรัตน์              2532-2534
  8. นายจิรายุทธ์ วสุรัตน์              2534-2536
  9. ดร.ทิวา ธเนศวร                      2536-2538
  10. นายอนันตชัย คุณานันทกุล   2538-2558
  11. นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล     2558-ปัจจุบัน

      ปัจจุบันสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยได้ดำรงกิจการตามวัตถุประสงค์อยู่ในขอบเขตของบทบัญญัติของกฎหมาย  และข้อบังคับของสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยจนเจริญก้าวหน้าขึ้นมาเป็นลำดับและในปี 2566 มีสมาคมนายจ้างสมัครเข้าเป็นสมาชิกรวมทั้งสิ้น 47 สมาคม และมีสถานประกอบการที่สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบผู้ให้การสนับสนุนจำนวนทั้งสิ้น 600 ราย

        

 

วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย

วัตถุประสงค์

  • เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างธุรกิจในสาขาต่างๆ
  • เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐ
  • เพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
  • เพื่อส่งเสริมการศึกษาภาคธุรกิจเอกชนและสนับสนุนให้มีการจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล